เมนู

ต่อจากนั้นในวันที่ 2 พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกพระอานนทเถระ
มาแล้วตรัสว่า ดูก่อนอานนท์ เมื่อคืนนี้เทวดาองค์หนึ่งเข้ามาหาเราแล้วถาม
มงคลปัญหา เมื่อเป็นเช่นนี้ เราจึงได้กล่าวมงคล 38 ประการ แก่เทวดานั้น
ดูก่อนอานนท์ เธอจงเรียนมงคลนี้ ครั้นเรียนมงคลปริยาขึ้นแล้วจงบอกภิกษุ
ทั้งหลาย. พระเถระเรียนเอาแล้ว จึงได้บอกภิกษุทั้งหลาย มงคลสูตรนี้นั้น
อาจารย์นำสืบ ๆ กันมา ย่อมเป็นมาได้จนถึงทุกวันนี้ พรหมจรรย์นี้พึงทราบ
ว่า เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ประกาศดีแล้ว จนกระทั่งบริบูรณ์ แพร่หลาย
กว้างขวาง มีคนรู้กันมาก และเป็นปึกแผ่น ด้วยประการฉะนี้.

สรุปมงคล 38


บัดนี้ เพื่อความฉลาดในการอบรมญาณ ในมงคลเหล่านี้นั้น แหละ จึง
มีโยชนา (วาจาประกอบการอธิบายความให้เชื่อมกัน) จำเดิมแต่ต้นดังต่อไปนี้.
สัตว์ทั้งหลายเหล่านี้ ผู้ใคร่ต่อความสุขในโลกนี้ โลกหน้าและโลกุตร-
สุข ละการเสพคนพาล อาศัยบัณฑิตทั้งหลาย บูชาซึ่งบุคคลทั้งหลาย ที่ควร
บูชา อันการอยู่ในประเทศอันสมควร และการเป็นผู้มีบุญอันกระทำแล้วใน
ปางก่อน ตักเตือนอยู่ ในการสั่งสมกุศล จึงตั้งตนไว้ชอบ มีอัตภาพอันประดับ
แล้ว ด้วยพาหุสัจจะ ศิลปะ และวินัย กล่าวอยู่ซึ่งวาจาสุภาษิต อันสมควร
แก่วินัย ตนยังไม่ละความเป็นคฤหัสถ์ตราบใด ก็ชำระหนี้เก่าโดยการเลี้ยงดู
มารดาบิดาอยู่ตราบนั้น ประกอบหนี้ใหม่ด้วยการสงเคราะห์บุตรและภรรยาอยู่
บรรลุถึงความสำเร็จแห่งสมบัติ มีทรัพย์และข้าวเปลือกเป็นต้น ด้วยความ
เป็นผู้มีการงานไม่อากูล ถือเอาสาระแห่งโภคะด้วยการให้ทานและสาระแห่ง

ชีวิตด้วยการประพฤติธรรม กระทำประโยชน์เกื้อกูลแก่ชนของตน ด้วยการ
สงเคราะห์ญาติ และกระทำประโยชน์เกื้อกูลแก่ชนอื่น ด้วยการประกอบการงาน
ที่ปราศจากโทษ เว้นการเบียดเบียนคนอื่น ด้วยการงดจากบาปและการเบียด-
เบียนตน ด้วยการสำรวมจากการดื่มน้ำเมา เจริญธรรมฝ่ายกุศลทั้งหลาย ด้วย
ความไม่ประมาทในธรรมทั้งหลาย สละเพศคฤหัสถ์ ด้วยความเป็นผู้ฉลาดใน
กุศลธรรมที่ตนเจริญแล้ว แม้ดำรงอยู่แล้วในความเป็นบรรพชิต ก็ยินดีความ
ถึงพร้อมด้วยวัตร ด้วยความเคารพและความอ่อนน้อม ในทักขิเณยยบุคคล
ทั้งหลาย มีพระพุทธเจ้า พุทธสาวก อุปัชฌาย์และอาจารย์เป็นต้น. สละ
ความคิดในปัจจัย ด้วยความสันโดษ ดำรงอยู่ในสัปปุริสภูมิ ด้วยความกตัญญุ
ละจิตที่ท้อแท้เสียได้ด้วยการฟังธรรม ครอบงำอันตรายทั้งปวงเสียได้ด้วยความ
อดทน ทำคนให้มีที่พึ่งด้วยการเป็นผู้ว่าง่าย เห็นอยู่ซึ่งการประกอบความเพียร
ในการปฏิบัติ ด้วยการเห็นสมณะ บรรเทาความสงสัยในธรรมทั้งหลายอันเป็น
ที่ตั้งแห่งความสงสัยเสียได้ด้วยการสนทนาธรรม ทำศีลวิสุทธิให้บริบูรณ์ ด้วย
การสำรวมอินทรีย์และตบะ ทำจิตตวิสุทธิให้บริบูรณ์ด้วยพรหมจรรย์คือสมณ-
ธรรม ทำวิสุทธิอีก 4 อย่างที่เหลือจากนั้นให้บริบูรณ์ (ทิฏฐิ, กังขา, มัคคา,
ปฏิปทา) บรรลุญาณทัสสนวิสุทธิ. อันเป็นปริยายแห่งอริยสัจจทัสสนะ ด้วย
ปฏิปทา (ข้อปฏิบัติ) นี้ ย่อมกระทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน กล่าวคือ
อรหัตผล ซึ่งครั้นทำให้แจ้งแล้ว ก็เป็นผู้มีจิตไม่หวั่นไหวด้วยโลกธรรม 8
ดุจภูเขาสิเนรุไม่หวั่นไหว เพราะลมและฝนฉะนั้น จึงเป็นบุคคลที่ไม่เศร้าโศก
มีจิตปราศจากธุลี มีจิตเกษม ก็บุคคลเหล่าใดเป็นผู้มีจิตเกษม บุคคลเหล่านั้น

เป็นผู้ไม่พ่ายแพ้ในที่ทั้งปวง และย่อมถึงความสวัสดีในที่ทุกสถาน เพราะ
เหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า
เอตาทิสานิ กตฺวาน สพฺพตฺถมปราชิตา
สพฺพตฺถ โสตฺถึ คจฺฉนฺติ ตนฺเตสํ มงคลมุตฺตมํ.
เหล่าชนครั้นกระทำการมงคลทั้ง 38
ประการเหล่านี้แล้ว ย่อมเป็นผู้ไม่พ่ายแพ้ใน
ที่ทั้งปวง ย่อมถึงความสวัสดีในที่ทุกสถาน
การถึงความสวัสดีนั้นเป็นมงคลอย่างสูงสุด
ของชนเหล่านั้น.

จบการพรรณนามงคลสูตร ในอรรถกถาขุททกนิกาย
ชื่อ ปรมัตถโชติกา

สูจิโลมสูตรที่ 5


ว่าด้วยกิเลสเป็นเหตุเกิด


[319] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่บน (แท่นหิน) เตียงมี
แม่แคร่ในที่อยู่ของสูจิโลมยักษ์ ใกล้ บ้านคยา ก็สมัยนั้นแล ขรยักษ์และ
สูจิโลมยักษ์เดินผ่านไปในที่ไม่ไกลพระผู้มีพระภาคเจ้า ลำดับนั้น ขรยักษ์
ได้กล่าวกะสูจิโลมยักษ์ว่า นั่นสมณะ สูจิโลมยักษ์ได้กล่าวกะขรยักษ์ว่า นั่น
ไม่ใช่สมณะ นั่นเป็นสมณะเทียม เราทราบชัดว่า สมณะหรือสมณะเทียมเพียงไร
ลำดับนั้น สูจิโลมยักษ์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ครั้นแล้ว
น้อมกายของตนเข้าไปใกล้พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเป็นกาย
(ของสูจิโลมยักษ์) ออกไป สูจิโลมยักษ์ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ท่านกลัว
ข้าพเจ้าหรือสมณะ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เราไม่กลัวท่านดอกผู้มีอายุ
แต่สัมผัสของท่านลามก.
ส. ดูก่อนสมณะ ข้าพเจ้าจักถามปัญหากะท่าน ถ้าท่านไม่พยากรณ์
ไซร้ ข้าพเจ้าจักควักดวงจิตของท่านออกโยนทิ้งเสีย หรือจักฉีกหทัยของท่าน
เสีย หรือจักจับที่เท้าทั้งสองแล้วขว้างไป ในแม่น้ำคงคาฝั่งโน้น.
พ. เราไม่เห็นบุคคลในโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก
ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ ผู้ซึ่งจะควักดวงจิตของ
เราออกโยนทิ้ง หรือจะฉีกหทัยของเราเสีย หรือจะจับที่เท้าทั้งสองแล้วขว้าง